Economics

‘TPTI’ ยกระดับศักยภาพคนไทยด้านปิโตรเลียมทัดเทียมต่างชาติ

นับจากปี 2543 ที่มีบุคลากรกว่า 50,000 คน ผ่านการฝึกอบรมจาก สถาบันฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรด้านปิโตรเลียม (TPTI ) เพื่อให้พร้อมปฏิบัติงานในสาขาสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ตลอดหลายสิบปีในการดำเนินงานของสถาบันแห่งนี้ ได้ออกใบรับรอง (Certificate ) ไปแล้ว 90,000 ใบ ด้านความปลอดภัย และชีวอนามัย 80,000 ใบ ที่เหลือเป็นด้านการเจาะหลุม และควบคุมหลุมปิโตรเลียม ด้านธุรกิจปิโตรเลียม ความรู้ด้านวิศวกรรม และธรณีวิทยาปิโตรเลียม เป็นต้น

YB 0433

“ หลักสูตรที่สถาบันฯทำการฝึกอบรมอยู่ตอนนี้ มีถึง 17 หลักสูตร เป็นหลักสูตรสำหรับการทำงานในแท่นขุดเจาะบนบก 3 หลักสูตร และกลางทะเล 14 หลักสูตร เน้นหลักสูตรด้านความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะธุรกิจนี้ความปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญ “

IMG 20190411 122047
ไกรฤทธิ์ นิลคูหา

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา ประธานมูลนิธิสถาบันฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรด้านปิโตรเลียม เล่าว่า ใครจะทำงานบนแท่นขุดเจาะต้องผ่านการอบรมจากเรา เรามีทั้งหลักสูตรของเราเอง และควบคุมโดยสถาบันฯ และหลักสูตรสากลที่นำมาอบรมเอง

สำหรับหลักสูตรไม่บังคับ ที่ได้รับการตอบรับสูงมาก เห็นจะเป็นหลักสูตร “Drilling School” ที่เปิดรับนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นหลัก ปีละ 20 คน มาเข้าค่ายอบรม 6 เดือนให้พร้อมปฏิบัติงานในสายงานต่างๆด้านการเจาะหลุมปิโตรเลียม

M3 4868

M3 4817

โครงนี้อบรมฟรี โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินอุดหนุน เพื่อการศึกษาตามสัมปทานปิโตรเลียม แต่ละปีต้องใช้วิธีสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือก เพราะมีเด็กที่ต้องการทำงานในวงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมาเข้ารับการคัดเลือกจำนวนมาก เพื่ฝึกอบรมให้มีศักยภาพทำงานกับ บริษัทเอกชนต่างๆ และก็พบว่ามีเด็กที่จบหลักสูตรได้งานทำมากกว่า 80% เพราะมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆของบริษัทปิโตรเลียม

YB 0259

YB 0062

นอกจากนี้นายไกรฤทธิ์ เล่าถึงหลักสูตร ที่ปั้นขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการ คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพพร้อมสำหรับการบริหารจัดการแหล่งปิโตรเลียมในระบบแบ่งปันผลผลิต (Production sharing contract : PSC) ที่นำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยสำหรับ แปลงปิโตรเลียมบงกช และเอราวัณ ซึ่งขณะนี้สถาบันฯกำลังทยอยอบรมแล้ว ทั้งด้าน Procurement & Contracting และ Budgeting & Planing กลุ่มเป้าหมายเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่มีหน้าที่ต้องกำกับดูแล

YB 0288

 

ดังนั้นจึงต้องพร้อมทำหน้าที่กำกับดูแลระบบ เพราะ PSC แตกต่างจากสัมปทาน ทั้งวิธีคิดคำนวณค่าภาคหลวง การจัดสรรรายได้ให้รัฐ การแบ่งปันผลกำไรให้ผู้รับสัญญา การหักค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือวิธีคิดภาษี รวมถึงกฎเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ขณะเดียวกันเราก็ยังมีระบบสัมปทานที่ใช้กันอยู่ในแหล่งปิโตรเลียมต่างๆ จากการเปิดสัมปทาน 20 รอบที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และกำลังจะเปิดใหม่ที่ 21

“บุคลากรของกรมเชื้อเพลิง ต้องมีความรู้ความเข้าใจทุกด้าน ที่เกี่ยวข้องกับระบบ PSC และสัมปทาน ที่ประเทศไทยใช้ควบคู่กัน ขณะเดียวกันจะต้องฝึกอบรม พนักงานของบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. ในฐานะที่ต้องมาบริหารจัดการทั้งแหล่งเอราวัณ และบงกช เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย “

DSC01404

นอกจากหลักสูตรดังกล่าวแล้ว สถาบันฯกำลังพัฒนาแนวทางของหลักสูตรการอบรมให้สอดคล้องกับยุคสมัยมากขึ้น เพื่อให้บุคลากรที่อยู่ในสายงานสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมมีความรู้รอบด้าน โดยเฉพาะกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ Decommissioning หรือ การรื้อถอนแท่นผลิตอย่างไรไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

IMG 20190411 112221 1
พวงทิพย์ ศิลปศาสตร์

นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันฯ เสริมว่า นอกจากนี้สถาบันฯยังอยู่ระหว่างพัฒนาหลักสูตรด้านอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิ หลักสูตรขับรถปลอดภัย เพื่อให้ขับรถขนส่งน้ำมันมีความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งกำลังหารือกับกรมการขนส่งทางบก และกรมธุรกิจพลังงาน

“จากการพัฒนาหลักสูตรต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการและเป็นสากล ทำให้การอบรมจากสถาบันฯมีมาตรฐาน เป็นศูนย์กลางพัฒนาบุคลากรด้านปิโตรเลียมที่ ได้รับการยอมรับจากวงการปิโตรเลียมทั้งใน และต่างประเทศ “

สถาบันฯ มีความภูมิใจที่มีส่วนในการพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก ในการดำเนินกิจการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมด้วยตัวเอง พึ่งพาต่างชาติน้อยลง จนวันนี้ประเทศไทยนำผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาสนับสนุนกิจการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม เหลือเพียง 10% จากเมื่อ 20 ปีก่อนต้องพึ่งพากว่า 90%

YB 0078

M3 4777

Avatar photo