COLUMNISTS

จริงหรือไม่ ‘กัญชา’ รักษาได้ทุกโรค?

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
5182

ขอ “สวัสดีปีใหม่ไทย มหาสงกรานต์” ย้อนหลังกันนะคะ หวังว่าคุณผู้อ่านทุกท่านสามารถรับสภาพอากาศในไทยที่ร้อนระอุมากในช่วงนี้ได้ และอย่าลืม ดูแลสุขภาพกันทั่วทุกท่าน

แน่นอน คุณผู้อ่านที่ติดตามข่าวของ “กัญชา” ในประเทศไทย ต่างเริ่มมีคำถามคาใจกันแล้วว่า อ่านมาก็หลายสื่อ หลายฉบับ ล้วนแล้วแต่เขียนว่า “กัญชา” ดีต่อร่างกาย รักษาได้เกือบทุกโรค ดีขนาดนี้จริงหรือไม่?

กัญชา

วันก่อนดิฉันได้อ่านงานวิจัยผ่านทาง US National Library Of Medicine National Institutes Of Health เขียนไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว “กัญชา” กำลังพลิกบทบาทใหม่ในวงการแพทย์ และมีงานวิจัยอ้างอิง ค้นพบคุณประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน และล่าสุด “กัญชา” ไม่มีโทษกับปอดของมนุษย์ แถมยังช่วยเพิ่มความภูมิคุ้มกัน ป้องกันเนื้อร้าย และการติดเชื้อด้วย! โดยที่ผลวิจัยเรื่องกัญชาว่ามีผลอย่างไรกับปอด ล่าสุดนี้ ถือเป็นงานวิจัยที่ใช้จำนวน Sample size เยอะที่สุด และใช้ระยะเวลาศึกษามากถึง 20 ปี

Dr. Mark Pletcher, Associate Professor Of Epidemiology and Biostatistics at the University Of California, San Francisco หัวหน้านักวิจัย ได้ทดสอบ Lung function จากกลุ่มคนทดลองถึง 5,115 คน

สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ปอดของกลุ่มที่สูบกัญชามามากกว่า 20 ปี ไม่มีโทษต่อปอดเลย และปอดก็ทำงานก็ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วยในบางราย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่สูบอะไรเลย จากการทดสอบ FEV 1 และ FVC Test

ถ้างั้น “กัญชา” ก็รักษาได้ทุกโรค?

ขอหยิบบทความของท่านอาจารย์พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี ซึ่งกล่าวไว้อย่างเข้าใจง่าย แบบเห็นภาพกันเลยว่า เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า ร่างกายมีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ระบบนี้พึ่งค้นพบประมาณ 20 ปี ซึ่งถือว่าใหม่มาก ใหม่จนวงการยาเคมีและการรักษาโรคของวงการแพทย์ ปรับตัวตามไม่ทัน

ฉะนั้น การที่มันไปควบคุมในทุก ๆระบบตั้งแต่ปลายเท้าจรดเส้นผม มันจึงมีอิทธิพลอย่างมากในการดูแลหรือควบคุมอาการของโรคที่จะเกิดขึ้น ร่างกายมีสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่สร้างขึ้นเองได้ แต่ถ้าร่างกายเสื่อมหรืออายุมากขึ้น เป็นธรรมดาที่กระบวนการสร้างจะเสื่อมด้วย และมีใช้น้อยลง และไม่เพียงพอ

กัญชา2

ถ้ามีสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ไม่พอทำอย่างไร?

ก็ต้องหาเพิ่มหรือเติมเข้าไป ซึ่งปัจจุบันเราก็พบว่า สารที่ใกล้เคียงที่เหมาะสมที่สุด อยู่ในต้นกัญชา

ขยายความเพิ่มอีกนิด ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ที่มีสารแคนนาบินอยด์ที่สร้างขึ้นเองไม่พอ จะทำให้ระบบหรืออวัยวะในร่างกายค่อยๆเกิดความเสียหายสุดท้ายโรคก็เกิดขึ้น ซึ่งในเมื่อสร้างไม่พอ ก็ต้องหามาเพิ่มจากข้างนอก ซึ่งก็คือ “กัญชา” นั่นเอง

ในส่วนของการออกฤทธิ์ในกัญชา ยังมีความซับซ้อน และแน่นอน การใช้เพื่อการแพทย์ จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน เพราะยาเคมี กับ กัญชา เมื่อใช้ร่วมกันจะมีปัญหาอะไรไหม จะตีกันไหม ฯลฯ

พบกันใหม่ฉบับหน้า ในเรื่องราวของ Aging Society in Japan ซึ่งมีความน่าสนใจไม่แพ้ กัญชา เลยค่ะ

(Credit : อาจารย์พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี – ที่ปรึกษาธุรกิจสมุนไพร และอาหารเสริมทางการแพทย์
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22235088

#KINN_Biopharma