Startup

สตาร์ทอัพ ‘ตลาดเกิดใหม่’ สร้างความแตกต่าง ปูทางความสำเร็จ

หลังจากที่ศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะในการเริ่มต้นทำธุรกิจมาจากซิลิคอน วัลเลย์แล้ว “ฮลา ฮลา วิน” ก็นำประสบการณ์ทั้งหมดที่มีอยู่กลับมายังเมียนมา บ้านเกิดของเธอ เพื่อตั้งบริษัทที่นำ “augmented reality” หรือ เทคโนโลยีโลกเสมือน (เออาร์) เข้ามาใช้พัฒนาการศึกษาในประเทศ ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่พัฒนาน้อยที่สุดของโลก

haa

“360เอ็ด” (360ed) ก่อตั้งขึ้นในปี 2559 และเพิ่งนำผลิตภัณฑ์ของบริษัทเปิดตัวในตลาดเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนในโลกกำลังพัฒนาผ่านทางเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น การนำสมาร์ทโฟนชี้ไปที่ม้า ซึ่งอยู่ในแฟลชการ์ดตัวหนึ่งของบริษัท ก็จะทำให้นักเรียนมองเห็นภาพวิว และสามารถขี่ม้าแบบ 3 มิติบนจอภาพได้

“หนังสือของโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป มักมีแต่ตัวหนังสือ กับภาพขาวดำ ซึ่งไม่ได้ทำให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นมาเลย” ฮลา ฮลา วิน กล่าว

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทยังรวมถึง แฟลชการ์ดชีวประวัติ และเคมี แบบอินเตอร์แอคทีฟ สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย และแฟลชการ์ดภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กๆ ซึ่งโดยรวมแล้ว 360เอ็ด สามารถขายชุดแฟลชการ์ดเหล่านี้่ไปได้ 20,000 ชุดแล้ว

บริษัทของฮลา ฮลา วิน เน้นทำตลาดผลิตภัณฑ์ในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มาตั้งแต่ปี 2561 และตั้งเป้าที่จะขยายเข้าไปในมาเลเซีย และแอฟริกา ทั้งในปีนี้ บริษัทยังมีเป้าหมายที่จะวางจำหน่ายแฟลชการ์ด ตามร้านขายซีดีทั่วญี่ปุ่นด้วย

ทั้งนี้ การแพร่หลายของสมาร์ทโฟน และโทรคมนาคมที่พัฒนาไปอย่างมาก กลายเป็นปัจจัยดึงดูดให้บรรดาผู้อพยพที่มีความสามารถจากประเทศต่างๆ แม้กระทั่งจากประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด เดินทางกลับมายังบ้านเกิด เพื่อตั้งสตาร์ทอัพเทคโนโลยีขึ้นมา

ส่วนใหญ่มักทำธุรกิจแบบเดียวกันที่ประสบความสำเร็จในเกือบทุกตลาด อย่าง ชอปปิ้งออนไลน์ แต่ 360เอ็ด กลับเดินไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม เป็นสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหาในสิ่งที่บ้านเกิดต้องการ และพัฒนาธุรกิจในต่างแดน

“ฮิฉับ” (Hishab) ผู้พัฒนาระบบไมโครไฟแนนซ์ในบังกลาเทศ ก็มีเส้นทางเดินที่คล้ายคลึงกับ 360เอ็ด โดยรูปแบบของธุรกิจมุ่งเน้นไปยังการช่วยให้ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการการเงินของตัวเองได้

ชูไบร์ อาห์เหม็ด ผู้สั่งสมประสบการณ์มาจากบริษัทด้านการลงทุนญี่ปุ่น ก่อตั้งฮิฉับขึ้นมา เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการข้อมูลที่ใช้งานได้ง่ายๆ เขาดึงเพื่อนที่เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยพัฒนาแมชชีนเลิร์นนิ่ง (machine learning) สำหรับการจดจำเสียงเพื่อการใช้งานแอพ ซึ่งเพื่อนของเขา เป็นหัวหน้าทีมงานวิศวกรชาวบังกลาเทศ 4 คน ที่ทำงานทางไกลมาจากเยอรมนี

maxresdefault 1

ฮิฉับตัดสินใจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่จะขยายกิจการเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เมียนมา โดยบริษัทมีแผนที่จะเปิดทดลองใช้งานแอพพลิเคชันสำหรับธุรกิจรายย่อยภายใน 1 ปี

แม้กิจการของสตาร์ทอัพเหล่านี้ ดูเหมือนจะไปได้ดี แต่เรื่อง “เงินทุน” ก็ยังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสตาร์ทอัพในกลบุ่มประเทศที่ได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในโลก สถานที่ที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบการเงิน และสถาบันการเงินก็ไม่มีระบบที่บ่งชี้ได้ว่า ธุรกิจใดที่มีศักยภาพในการเติบโต แม้กระทั่ง 360เอ็ด ที่พัฒนาธุรกิจของตัวเองในต่างประเทศ ก็ยังระดมทุนข้ามแดนไม่สำเร็จ

“เนื่องเพราะผลิตภัณฑ์การเงินยังไม่พัฒนา การระดมทุนเลยเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก” ชินซูเกะ โกโตะ ซีอีโอทรัสต์ เวนเจอร์ พาร์ทเนอร์ส ในย่างกุ้ง ระบุ

แต่สำหรับสตาร์ทอัพด้านอินเทอร์เน็ต ที่ไม่จำเป็นต้องมีร้าน หรือโรงงานแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาลแต่อย่างใด

“เมื่อดูตัวอย่างความสำเร็จในประเทศอื่นๆ แล้ว มีเงินทุนจำนวนมากขึ้น ที่กำลังให้ความสนใจกับตลาดใหม่ๆ อย่างเมียนมา” โกโตะ กล่าว

ที่มา: Nikkei Asian Review 

Avatar photo