COLUMNISTS

ตลาดทาวน์เฮ้าส์กรุงเทพฯเจาะผู้ซื้อจริง!

Avatar photo
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด (Property DNA)
4

ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ยังคงมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องและไม่เพียงแต่ตลาดคอนโดมิเนียมเท่านั้นที่มีการขยายตัว  แต่ตลาดบ้านจัดสรรก็มีการขยายตัวด้วยเช่นกัน

ตลาดบ้านจัดสรร อาจจะมีข่าวคราวหรืองานกิจกรรมตอนเปิดขายโครงการไม่มากนักแบบโครงการคอนโดมิเนียม คนทั่วไปจึงไม่รู้ว่าตลาดบ้านจัดสรรก็มีความเคลื่อนไหวมากเช่นกัน

โดยในช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้มีบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ต่อปีมากกว่า 40,000 ยูนิต แต่ลดเหลือ 20,000 ยูนิตในช่วง 5 – 6 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในกรุงเทพฯ หลังจากที่เส้นทางรถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดินเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ราคาที่ดินในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นมากมายปีต่อปี

ที่ดินที่มีราคาขายสูงเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรและสามารถพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมได้เท่านั้นในที่ดินที่มีราคาขายสูง ดังนั้น โครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมากเปิดขายในกรุงเทพฯและพื้นที่โดยรอบโดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน

ช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายตัดสินใจเปิดขายโครงการ่บ้านจัดสรรในพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ รอบกรุงเทพฯ โดยเฉพาะโครงการบ้านเดี่ยว แม้ว่าจะยังมีโครงการบ้านจัดสรรเปิดขายในกรุงเทพฯ หลายโครงการ แต่ราคาขายปรับเพิ่มขึ้นทุกปี โครงการบ้านเดี่ยวที่มีราคาขายมากกว่า 10 ล้านบาทต่อยูนิตหรือมากกว่าเปิดขายมากมายในพื้นที่กรุงเทพฯรอบนอก

แต่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกพัฒนาโครงการทาวน์เฮ้าส์ขนาดเล็กและขนาดกลางด้วยจำนวนยูนิตประมาณ 200 – 300 ยูนิตต่อโครงการ “ทาวน์เฮ้าส์”ครองส่วนแบ่งตลาดสัดส่วน 51% ของโครงการบ้านจัดสรรในกรุงเทพฯ

ไรส์แลนด์ ทาวน์เฮ้าส์

ทาวน์เฮ้าส์ครองสัดส่วนตลาดใหญ่ที่สุดประมาณ 51% ของจำนวนบ้านจัดสรรทั้งหมด 70,773 ยูนิต ตามมาด้วยบ้านเดี่ยวที่สัดส่วน 36% คนไทยจำนวนมากเลือกที่จะซื้อทาวน์เฮ้าส์ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าปัจจุบันและในอนาคตมากกว่าคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง

ทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ มีราคาขายในช่วง 2–3 ล้านบาทต่อยูนิตหรือประมาณ 47% ของจำนวนทาวน์เฮ้าส์ในกรุงเทพฯ  36,300 ยูนิต และโครงการทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคานี้อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯรอบนอก ทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3–5 ล้านบาทต่อยูนิตมีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่สอง ด้วยสัดส่วน 30% ซึ่งทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคานี้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง ทางน์เฮ้าส์ในระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาทต่อยูนิตจะอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดินปัจจุบัน บางโครงการมีราคาขายมากกว่า 20 ล้านบาทต่อยูนิต

ไรส์แลนด์ ทาวน์เฮ้าส์

อัตราการขายเฉลี่ยของตลาดทาวน์เฮ้าส์ในกรุงเทพฯอยู่ที่ 65% และทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคา 2 – 3 ล้านบาทต่อยูนิตมีความน่าสนใจที่สุด แม้ว่าจะมีอัตราการขายเฉลี่ยที่ 64% เท่านั้น แต่ราคาขายระดับนี้ขายไปได้มากที่สุด และยังมีอีกกว่า 12,000 ยูนิตที่รอการขายอยู่ในตลาด แต่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกที่จะพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรแบบแบ่งเป็นเฟสไม่ใช่พัฒนาพร้อมกันทั้งโครงการ ทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคาขายมากกว่า 7 ล้านบาทต่อยูนิตมีความน่าสนใจที่สุด เพราะว่าอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 68% และเหลือขายในตลาดไม่มากนักในปัจจุบัน

ไรส์แลนด์ ทาวน์เฮ้าส์

ทำเลยอดนิยมในการพัฒนาโครงการทาวน์เฮ้าส์ในกรุงเทพฯ คือพื้นที่ตอนเหนือของกรุงเทพฯ  เช่น เขตคลองสามวา ซึ่งมีทาวน์เฮ้าส์ประมาณ 16.4% จากจำนวนทาวน์เฮ้าส์ทั้งหมดของกรุงเทพฯ  ตามมาด้วยเขตลาดกระบัง สายไหม ประเวศ และบางขุนเทียน โดยเขตบางขุนเทียนเป็นเขตเดียวที่อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ในขณะที่เขตอื่นๆ อยู่ทางทิศเหนือ เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่หลายเส้นทางอยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ และราคาที่ดินยังคงเหมาะสมกับการพัฒนาโครงการทาวน์เฮ้าส์มากกว่าโครงการบ้านเดี่ยว

ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจในการพัฒนาโครงการทาวน์เฮ้าส์ในกรุงเทพฯ ทั้งผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ รายใหญ่ และรายที่มีชื่อเสียงล้วนให้ความสนใจในการพัฒนาโครงการทาวน์เฮ้าส์ เช่น พฤกษา เอพี แสนสิริ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เอสซี แอสเสท อนันดา พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และคิวเฮ้าส์

โดยพฤกษามีสัดสวนมากที่สุดในตลาดทาวน์เฮ้าส์กรุงเทพฯ  อีกทั้งยังคงครองสัดส่วนมากเป็นอันดับที่ 1 ในตลาดทาวน์เฮ้าส์ของประเทศไทยอีกด้วย แสนสิริตามมาเป็นอันดับที่สองด้วยสัดส่วน 8% และพวกเขายังคงมีโครงการอยู่ในแผนการพัฒนาอีกมากมายในอนาคต แสนสิริให้ความสนใจในตลาดทาวน์เฮ้าส์มากขึ้นหลังจากที่ตลาดคอนโดมิเนียมอยู่ในช่วงที่ความร้อนแรงลดลง

ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจในการพัฒนาโครงการทาวน์เฮ้าส์หลังจากที่ตลาดคอนโดมิเนียมอยู่ในช่วงที่มีการขยายตัวลดลง การที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจในตลาดทาวน์เฮ้าส์ก็เพราะว่าผู้ซื้อเป็น “ผู้ซื้อจริง” และรอเพียงแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้นก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อได้ ผู้ประกอบการบางรายเปิดขายทาวน์เฮ้าส์ที่สร้างเสร็จและพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น ผู้ประกอบการจะได้รับเงินทั้งหมดภายในเวลาไม่กี่เดือนเร็วกว่าโครงการคอนโดมิเนียมมากนัก นอกจากนี้ผู้ประกอบการทั้งหลายยังไม่ต้องกังวลต่อผู้ซื้อที่ไม่สามารถขอสินเชื่อได้และไม่สามารถโอนกรรมสิทธ์บ้านที่ซื้อไปแล้วได้ หรือไม่อยากโอนกรรมสิทธิ์ เพราะพวกเขาสามารถนำกลับมาขายได้อีกครั้งในเวลาไม่นาน

ตลาดทาวน์เฮ้าส์ในกรุงเทพฯ ปี 2561 ยังคงใกล้เคียงกับปี 2560 และในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากยังคงมีความต้องการอยู่โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างหรือเส้นทางใหม่ในอนาคต