General

‘พม. โพล’ ย้ำ ‘ครอบครัวคอยดูแล’ ความสุขสุดๆ ของผู้สูงอายุ

พม. จับมือ นิด้าโพล สำรวจ “ความสุข และความรุนแรงในผู้สูงอายุ” พบ 39.21 %  ต้องการให้คนในครอบครัวคอยดูแล ค่าใช้จ่าย-พาไปหาหมอ ขณะเดียวกันประชาชนเห็นว่า 51.98 %  ผู้กระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ คือ บุคคลในครอบครัวเช่นเดียวกัน

S 74563587
ปรเมธี วิมลศิริ

กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน หรือ ” พม. POLL” ในประเด็น “สร้างสุขผู้สูงวัย ใส่ใจไร้ความรุนแรง” โดยทำงานร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัด พม. กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในประเด็น “สร้างสุขผู้สูงวัย ใส่ใจ  ไร้ความรุนแรง” ระหว่างวันที่ 12 – 22 กุมภาพันธ์ 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) รวมตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 4,800 หน่วยตัวอย่าง และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีลงพื้นที่ภาคสนาม

senior 3336451 640

โดย มีประเด็นคำถาม และคำตอบ ดังนี้

1.ประเด็น  “ความสุขของผู้สูงอายุ” ที่ต้องการจากคนในครอบครัว

  • 39.21 % ต้องการให้คนในครอบครัวแสดงออกด้วยการดูแล เช่น การดูแลค่าใช้จ่าย  การให้เงิน   พาไปพบแพทย์
  • 38.21%  ต้องการให้คนในครอบครัวแสดงออกทางคำพูด เช่น การบอกรัก การทักทาย การถามสารทุกข์สุกดิบ

“ความสุขของผู้สูงอายุเป็นเรื่องใด”

  • 56.85%  คิดว่าเป็นความสุขทางจิตใจ อารมณ์ เช่น การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน การทำงานอดิเรก
  • 25.48%   คิดว่าเป็นความสุขทางร่างกาย เช่น การมีสุขภาพดี  ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

2. ประเด็น “ความรุนแรงในผู้สูงอายุ”

  • 35.04 %  เป็นการทำร้ายจิตใจ เช่น วาจา ด่าทอ ท่าทาง สายตา สีหน้า
  • 30.98 %  ถูกทอดทิ้ง  ขาดผู้ดูแล

2.1   ” บุคคลใดเป็นผู้กระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุมากที่สุด “  พบว่า

  • 51.98 %  เป็นบุคคลในครอบครัว หมายถึง พ่อ แม่ พี่น้อง สามี ภรรยา ลูก หลาน
  • 26.13 %  เป็นบุคคลอื่น หมายถึง คนแปลกหน้า มิจฉาชีพ

2.2   “ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุถูกกระทำความรุนแรงมากที่สุด”

อันดับ 1 สัดส่วน 24.79 % ระบุว่า ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง

อันดับ 2 สัดส่วน 23.06 % ระบุว่า ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เนื่องจากความเจ็บป่วย และความพิการ

อันดับ 3 สัดส่วน 13.56 % ระบุว่า ผู้ดูแลรู้สึกว่าผู้สูงอายุเป็นภาระ

2.3  “สิ่งที่ประชาชนจะทำ หากพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในผู้สูงอายุ ” 

70.33 %  แจ้งเหตุผ่านบุคคล/ช่องทางต่างๆ ดังนี้

  • 40.28 % แจ้งผ่านผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  • 27.19 % แจ้งเหตุผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจ

2.4  “แนวทางป้องกัน และแก้ปัญหาความรุนแรงในผู้สูงอายุ “

  • 40.96 % ต้องการให้รัฐบาลส่งเสริม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และอบรมสั่งสอน
  • 38.88 % ส่งเสริมการสร้างทัศนคติให้เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ เช่น ความกตัญญู เอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูล

3. ประเด็น “การใช้เทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ สื่อสังคมออนไลน์ มีผลต่อผู้สูงอายุอย่างไร ” 

98.17 %  ระบุว่า มีผลดี โดยมีเหตุผล ดังนี้

  • 69.93 % ช่วยให้ผู้สูงอายุติดต่อกับลูกหลานได้ง่ายและสะดวกขึ้น
  • 11.50 %   ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถติดตามข่าวสารทั่วไป  ได้สะดวกรวดเร็ว

97.06 % ระบุว่า มีผลเสีย โดยมีเหตุผล ดังนี้

  • 55.61%   ผู้สูงอายุอาจจะถูกหลอกลวงโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • 16.23 %  ทำให้ผู้สูงอายุเสียสุขภาพ เสียสายตา

S 74563597

ทั้งนี้ จะมีการนำผลการสำรวจดังกล่าว เสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) เพื่อนำไปกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุต่อไป

Avatar photo