World News

เปิดใจชาวรักร่วมเพศบรูไน ‘หนีตาย’ กม.ปาหิน

เมื่อประเทศเล็กๆ ที่ร่ำรวยน้ำมัน อย่าง บรูไน ประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2556 ว่า จะนำกฎหมายอิสลามที่มีความเข้มงวดเข้ามาใช้ รวมถึง การลงโทษประหารชีวิตบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเพศเดียวกันด้วยการขว้างปาหิน ทำให้ชาวรักร่วมเพศในประเทศนี้จำนวนนี้ คิดถึงเรื่องการหนีออกมา

international 2690923 640

แต่ก็ยังมีกลุ่มคนรักร่วมเพศจำนวนหนึ่ง ที่ยังปักหลักอยู่ในบรูไนต่อไป ด้วยความหวังว่า กฎหมายดังกล่าว ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 เมษายน จะไม่ผ่านการพิจารณาออกมา

“เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากจริงๆ” ไครุล ชายหนุ่มรักร่วมเพศรายหนึ่งในบรูไน ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็น

ไครุล และชาวรักร่วมเพศจำนวนหนึ่ง ที่ซีเอ็นเอ็นสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่างร้องขอให้มีการปกปิดตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา เพราะกังวลถึงความปลอดภัยของตัวเอง และครอบครัวของพวกเขา

“ผมคิดว่า ผมอาจจะไม่ได้รับการยอมรับ คิดว่าคงถูกครอบครัวหมางเมิน และอาจถูกส่งตัวไปเข้ารับการอบรมทางศาสนา แต่มันเลวร้ายกว่าที่ผมคิดว่า เพราะการปาหิน เรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกว่า ถ้าหากเป็นจริงขึ้นมา ผมคงต้องไป”

เขาบอกด้วยว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ไร้มนุษยธรรม เป็นการลงโทษที่รุนแรงเกินไปอย่างมาก ไม่ใช่เรื่องที่ใครสักคนต้องเจอ เพียงเพราะแค่เขาเป็นคนรักร่วมเพศ
ขณะที่สาวข้ามเพศอย่าง เซน ได้หนีออกมาจากบรูไนตั้งแต่ปลายปี 2560 และกำลังขอลี้ภัยในแคนาดา

“ฉันต้องการใช้ชีวิตของฉันในแบบที่ฉันเป็น ด้วยความรู้สึกที่ว่า ฉันต้องการเป็นผู้หญิง ฉันต้องการใช้ชีวิตโดยไม่มีความสุดโต่งในด้านศาลนา หรือการอนุรักษนิยม ดังนั้นฉันจึงออกจากประเทศมา ภายใต้กฎหมายชาริอะห์นั้น ฉันอาจโดนปรับ โดนเฆี่ยน และติดคุก”

000 1FA9UC

ยิ่งรู้ยิ่งกลัว

เซนบอกว่า ความรู้ความเข้าใจในกฎหมายชาริอะห์ ยิ่งทำให้เธอกังวลมากขึ้นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา

“ฉันมีชีวิตอยู่อย่างหวาดกลัว อาจจะตั้งแต่ปี 2556 แล้ว ฉันเรียนในโรงเรียนสอนศาสนา ดังนั้นจึงรู้กฎหมายเหล่านี้มากกว่าเพื่อนๆ ของฉันที่ไม่เคร่งศาสนามากนัก และฉันค่อนข้างหวาดกลัวเกี่ยวกับการนำกฎหมายชาริอะห์เข้ามาบังคับใช้”

เซน ชี้ด้วยว่า ไม่ใช่แค่ชุมชนชาวรักร่วมเพศเท่านั้น ที่จะโดนกฎหมายเหล่านี้คุกคาม

“ทุกคนได้รับผลกระทบทั้งนั้น การใช้ชีวิตที่นั่นจะกลายเป็นเรื่องที่หวาดหวั่น ต่อให้คุณไม่ใช่คนรักร่วมเพศก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกผู้หญิง จะถูกเอาเปรียบอย่างมาก”

เธอยังสนับสนุนให้คนอื่นๆ เดินทางออกจากบรูไน

“ฉันอยากให้เพื่อนๆ ในกลุ่มรักร่วมเพศปลอดภัย และถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ออกมาจากบรูไน ประเทศนี้ไม่ใช่สถานที่ดี พวกคุณจะถูกขโมยเสรีภาพไป อยู่ไปก็จะมีแต่เรื่องแย่ๆ”

000 1A475M
สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ แห่งบรูไน

ทั้งนี้ บรูไน เป็นส่วนหนึ่งของเกาะบอร์เนียว มีสุลต่านเป็นประมุขปกครองประเทศ และอยู่ติดกับ 2 ชาติอิสลามที่ทันสมัยกว่า อย่าง อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว ในช่วงไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา บรูไนเดินไปในเส้นทางของการอนุรักษนิยมเพิ่มมากขึ้น รวมถึง การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ในการประกาศกฎหมายฉบับปรับปรุงใหม่ครั้งล่าสุดนี้ เว็บไซต์ของรัฐบาลบรูไน ได้ถึงอ้างพระราชดำรัสของสุลต่านฮัซซานัล โบลเกียห์ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

“รัฐบาลของข้าพเจ้า ไม่ได้คาดหวังที่จะให้ทุกคนยอมรับ และเห็นด้วยในกฎหมายฉบับนี้ แต่ขอแค่เพียงให้ความเคารพประเทศ ในแบบเดียวกับที่ประเทศเคารพพวกเขา”

นานาชาติรุมประณาม

รัฐบาล และนักเคลื่อนไหวทั่วโลก ต่างออกมาเรียกร้องบรูไน ให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดในเรื่องกฎหมายฉบับใหม่นี้

“ดิฉันขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการบังคับใช้กฎหมายฉบับใหม่ที่มีความรุนแรงเกินไป และถ้านำมาบังคับใช้ ก็จะทำให้การปกป้องสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนชาวบรูไน ก้าวถอยหลังไปอย่างมาก ” มิเชล บาเชเลต ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็น) แถลง

เช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรเพื่อสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ (แอลจีบีที) เอเชีย “อาเซียน โซกี คอคัส” ที่ออกมาเรียกร้องให้ระงับกฏหมายฉบับดังกล่าว

ทั้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง “จอร์จ คลูนีย์” ก็เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรต่อโรงแรมหรู 9 แห่งทั่วโลก ที่มีบรรษัทลงทุนบรูไน ของรัฐบาลบรูไน เป็นเจ้าของ โดยที่ในเวลาต่อมา นักร้องชื่อดัง “เอลตัน จอห์น” ก็ออกมาแสดงพลังสนับสนุนการรณรงค์นี้ และออกแถลงการณ์ระบุว่า การกีดกันโดยมีพื้นฐานอยู่บนเรื่องเพศ เป็นความผิดอย่างชัดเจน และไม่ควรมีอยู่ในสังคมใดทั้งนั้น

000 1F95N3
จอร์จ คลูนีย์ – เอลตัน จอห์น

แรงจูงใจจากเศรษฐกิจ

แมทธิว โวล์ฟ ผู้ก่อตั้ง “เดอะ บรูไน โปรเจค” องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ระบุว่า เหตุผลต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังกฎหมายใหม่ฉบับนี้ยังไม่ชัดเจน แต่เรื่องเศรษฐกิจน่าจะเป็นหนึ่งในสาเหตุเหล่านี้

“ในบรูไน เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง และสถานการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นมาสักพักหนึ่งแล้ว ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า การออกกฏหมายใหม่นี้จะเป็นวิธีการที่ช่วยให้รัฐบาลมีอำนาจที่แข็งแกร่งขึ้น”

เขาอธิบายต่อไปว่า แม้การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ ที่จะตีตัวออกห่างจากประเทศตะวันตก และมุ่งหน้าไปหาโลกมุสลิมแทน

“มีการผลักดันเพื่อดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มอิสลามเข้ามาในประเทศมากขึ้น รวมถึง นักท่องเที่ยวอิสลามด้วย ทำให้มองได้ว่า การนำกฎหมายชาริอะห์เข้ามาใช้ ก็เป็นวิธีการที่เป็นไปได้สำหรับตลาดเป้าหมายดังกล่าว สำหรับการลงทุนในประเทศ”

ที่มา :  CNN

Avatar photo