COLUMNISTS

โฟล์คสวาเก้นจะสู้กับเทสล่าได้หรือไม่

Avatar photo
แอดมินเพจ Tesla News Thailand นำเสนอเรื่องราวบริษัทเทสล่า และความเคลื่อนไหวในวงการรถยนต์ยุคใหม่ และพลังงานไฟฟ้ายั่งยืน [email protected]
73

Herbert Diess ซีอีโอคนล่าสุดของบริษัทโฟล์คสวาเก้น ก้าวขึ้นมาพร้อมกับภารกิจที่สำคัญที่สุด ที่จะต้องโค่นเทสล่าลงให้ได้จากบังลังก์ผู้นำแห่งรถยนต์ไฟฟ้า

การจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันรายนี้ต้องเพิ่มเงินลงทุนอีกสองเท่าในเรื่องกี่ยวกับแบตเตอรี

ระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีเมื่อวันที 3 เมษายนที่ผ่านมา Herbert กล่าวว่าบริษัทกำลังเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้มากถึง 3 ล้านคันต่อปี ภายในปี 2025 ซึ่งมีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องลงทุนมากถึง 40 ล้านยูโร หรือ ราวๆ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ในแบตเตอรี lithium ion เพื่อให้เพียงพอกับยอดผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนดังกล่าว

ยอดการลงทุนที่ระบุ มีมูลค่าเกือบจะเทียบเท่ามูลค่าหุ้นของบริษัทเทสล่าตอนปิดตลาดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาที่ 4.98 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าบริษัทโฟล์คสวาเก้น อยู่ที่ 2.05 แสนล้านดอลลาร์

โฟล์คสวาเก้นจะสู้กับเทสล่าได้หรือไม่

ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก่อนที่ Herbert ซีอีโอคนล่าสุดจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ดูแลแบรนด์โฟล์คสวาเก้นมารับตำแหน่งสูงสุดของเครือโฟล์คสวาเก้นนั้น บริษัทได้ตกลงที่จะลงทุนราวๆ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เกี่ยวกับเรื่องแบตเตอรี่ ซึ่งขณะนี้ได้รับเงินลงทุนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

ผู้ถือหุ้นโฟล์คสวาเก้นได้ยินเกี่ยวกับแผนการอันยิ่งใหญ่นี้สำหรับการเตรียมตัวผลิตเพียงแค่หนึ่งชั่วโมง หลังจากที่อีลอน มัสก์ ซีอีโอชื่อดังแห่งเทสล่าใส่อารมณ์กับคำถามจากบรรดานักวิเคราะห์ เกี่ยวกับเรื่องสถานะทางการเงินของไตรมาสแรกของปีนี้

อีลอนได้แสดงท่าทีปกป้องบริษัทในช่วงเวลาที่ราคาหุ้นเทสล่ากำลังตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทำให้บรรดานักวิเคราะห์เริ่มจะไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเงินของบริษัท ผลมาจากความมั่นใจที่มากเกินไปของอีลอนเกี่ยวกับเป้าหมายการผลิตที่ดูเป็นไปไม่ได้ และยังไม่สามารถผลิตให้ได้ไกล้เคียงกับเป้าหมายนี้สักเท่าไหร่ รวมทั้งระดับของเงินทุนที่จำเป็นในการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์และแบตเตอรี่ด้วย

นักลงทุนบางคนก็เป็นกังวลว่าเทสล่าไปให้ความสนใจกับเรื่องการพัฒนารถบรรทุกหัวลาก Semi มาเกินไป นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายๆ โครงการที่จำเป็นจะต้องใช้เงินจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นแผงโซล่าร์เซลล์ ระบบกักเก็บพลังงาน และเทคโนโลยีการชับเคลื่อนอัตโนมัติ

การชับเคลื่อนเดินหน้ายุทธศาสตร์รถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยแก้ไขภาพลักษณ์บริษัทที่เสียหายให้กลับมาเป็นบริษัทที่มีศีลธรรม มีนวัตกรรมแห่งยานยนต์ไร้มลพิษ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า

การจะไปให้ถึงจุดนั้น ทางโฟล์คสวาเก้นจะไม่เดินตามแนวทางของเทสล่ากับการตั้งโรงงานขนาดมหึมาอย่าง Gigafactory แต่จะใช้ความร่วมมือกับผู้ผลิตแบตเตอรีหลายๆ ราย

ปัจจุบันบริษัทได้ทำความตกลงไปแล้วกับ LG Chem, Samsung และ Amperex Technology จากจีน ในการป้อนแบตเตอรีให้กับรถไฟฟ้าที่จะผลิต รวมทั้งการให้ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีด้วย

วิเคราะห์เรื่องการต่อสู้ในเชิงเทคโนโลยีแล้วต้องบอกว่า แบตเตอรีลิเธียมไอออนของเทสล่ามีความก้าวหน้าในเชิงประสิทธิภาพ มากกว่าเทคโนโลยีของบริษัทอื่นๆ มาก (ว่ากันตามที่เทสล่ากล่าวอ้างและผู้เชียวชาญในการแยกส่วนประกอบรถยนต์อย่าง Munro & Associates ได้ค้นพบความเหนือชั้นของเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่และอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์)

หากว่ากันตามเนื้อผ้าแล้ว หมายถึงระยะทางที่ทำได้ต่อขนาดความจุของแบตเตอรี่ และต้นทุนกำไรที่จะมีผลต่อผลกำไรของบริษัทเล็กๆ อย่างเทสล่าด้วย

การที่เทสล่าเลือกแนวทางการพัฒนาที่ทำเองหมดทุกอย่าง ก็จะเหมือนกับที่บริษัทแอปเปิลทำทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอง ซึ่งจะทำให้เกิดการเข้ากันได้ดีที่สุด ไม่เหมือนกับคู่แข่งอย่าง Google ปล่อยให้ระบบ Android ถูกนำไปใช้โดยผู้ผลิตมือถืออย่างอิสระ อันจะทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างที่ควบคุมไม่ได้

ย้อนกลับมาที่แวดวงผู้ผลิตรถอีกครั้งว่า ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านแบตเตอรีเอง แต่ด้วยขนาดของเงินทุนที่มีอยู่นั้น การล้มคู่แข่งด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตที่เพียบพร้อม ทั้งเงินทุน และความชำนาญในการผลิตรถยต์ที่มีมายาวนาน ย่อมจะต้องได้เปรียบทั้งในเชิงปริมาณการผลิต

ความน่าสนใจของรถยนต์หลากหลายรุ่นที่จะปล่อยออกมาในอนาคตอันไกล้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้เทสล่ากลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์แบบนิชไปโดยปริยาย

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมโดยรวมที่ไม่ใช่เพียงแต่โฟล์คสวาเก้นเท่านั้น ที่แสดงท่าทีชัดเจนในการนำเสนอรถไฟฟ้ามากมายหลายรุ่นภายในช่วง 5 ปีนับจากนี้ แต่ยังรวมถึงค่ายรถหรูอื่นๆ อย่าง Benz Audi Jaguar BMW หรือ Aston Martin ต่างก็กำลังจะปล่อยรถไฟฟ้าออกมาแข่งในเซกเมนต์เดียวกันกับรถเทสล่าทุกรุ่นเลยทีเดียว

ดูแล้วก็น่าเป็นห่วงว่า แม้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ บริษัทใหญ่ทั้งหลาย น่าจะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดรถไฟฟ้าไปจากเทสล่าได้มากมายพอควร แต่ก็ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่น่าสนใจ

ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหมือนภาระที่บริษัทใหญ่ๆ จะต้องบริหารจัดการ อย่าง เรื่องตัวแทนจำหน่าย ที่จะไม่ได้กำไรจากการให้บริการหลังการขาย และซ่อมบำรุงเหมือนที่ได้จากรถใช้เครื่องยนต์ทั้งหลาย ซึ่งต้องดูว่าจะมาเป็นตัวถ่วงหรือไม่ ก็ต้องติดตามดูกันต่อไป

ลุ้นสนุกแน่นอนครับ

ที่มา https://goo.gl/GMVEfB


Add Friend