Economics

‘สมคิด’ ให้การบ้าน 10 ข้อสภาพัฒน์ ย้ำต้องชี้นำ-ให้รัฐบาล ‘ฟัง’

“สมคิด” ให้การบ้านสภาพัฒน์ เร่งสร้างความเข้มแข็ง ทำให้การเมืองหลังเลือกตั้ง “ฟัง”  และกลับมาเป็น “กระดูกงูของเรือ” เป็นแกนหลักของประเทศ ชี้นำรัฐบาล-สังคม บอกแผนให้หน่วยงานต่างๆนำไปสู่การปฏิบัตินำประเทศสู่ Create High Value

 

IMG 20190221 102609

วันนี้ (21 ก.พ.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินไปทางไปมอบนโยบายให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหล่งชาติ (สภาพัฒน์) โดยให้สภาพัฒน์ปรับบทบาทการทำหน้าที่ใหม่ เป็น “กระดูกงูของเรือใหญ่”  และ เป็น  1 ใน 3 เสาหลักของประเทศที่เข้มแข็ง น่าเชื่อถือ นอกจากธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ

โดยนายสมคิด ได้กล่าวในห้องประชุมกับผู้บริหารสภาพัฒน์ ให้สภาพัฒน์ ทำหน้าที่ชี้ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ และวางยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมกับวิธีการที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายนั้น โดยให้มุ่งเน้น 10 เรื่องใหญ่ ประกอบด้วย

1.การสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ จากมุ่งเน้นการส่งออก เป็น Local Economy

2.เชื่อมต่อภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรมให้ได้ เพราะภาคเกษตรของไทย เป็นฐานที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับคนในประเทศกว่า 30 ล้านคน

3.การเชื่อมต่อภาคบริการ ในเรื่องการท่องเที่ยว เพื่อทำให้เกิดตลาดจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่

4.เรื่องการศึกษา ให้ชี้ว่ากระทรวงศึกษาธิการต้องทำอะไร ต้องผลิตคนอย่างไรถึงตรงกับความต้องการของตลาด และขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

5.การพาประเทศไปสู่โลกยุคดิจิทัล โดยย้ำว่าอนาคตปัญญาประดิษ หรือ  AI (Artificial Intelligence ) และ loT (Internet of Things) หรือการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต มาแน่นอน ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนโฉมหน้าไป

6. วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตพิเศษ (Special Zone ) ในพื้นที่อื่นๆ ด้วยไม่ใช่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างเดียว  และเชื่อม Special Zone กับ Economic Zone ให้ได้

7 1

7.ทำอย่างไรให้ไทยเป็นศูนย์กลางของ CLMVT อย่างแท้จริง ที่หลายประเทศยอมรับ หัวใจต้องเชื่อมโยงประเทศต่างๆ

8.การทำหน้าที่บอกการเติบโตทางเศรษฐกิจในแต่ละปีไม่พอ ให้ลงรายละเอียดด้วยว่าอะไรเสี่ยง อะไรเป็นโอกาส อาทิเช่น เศรษฐกิจชีวภาพ หรือ ไบโออีโคโนมี (Bio Economy ) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการใช้ความรู้ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรชีวภาพ และผลผลิตทางการเกษตร สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันนั้น ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกยุคใหม่ ควรไปอยู่ในพื่นที่ใด เป็นต้น

9.ต้องหาทางยกเครื่องการบริหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่ ให้ท้องถิ่นมีบทบาทอย่างแท้จริง ไม่ใช่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำเงินกว่า 600,000 ล้านบาท แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะการพัฒนาในระยะต่อไปต้องมุ่งเน้น Local Economy ดังนั้นในระดับภูมิภาค และท้องถิ่นจะmeอะไรเหมือนเดิมไม่ได้อีกต่อไป

10. ปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ รองเลขาธิการแต่ละท่านที่แบ่งกันดูแลงานด้านต่างๆต้องทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายที่ดูแลด้านดิจิทัล ต้องดึงคนรุ่นใหม่มาเสริมทีม เพื่อให้ตามทันโลกยุคใหม่

9

 

“สภาพัฒน์ต้องแอคทีฟมากขึ้น ต้องทำแผนพัฒนาไปสู่การปฏิบัติให้ได้ และต้องชี้นำหน่วยงานต่างๆให้ได้ว่าประเทศไทยต้องเดินไปอย่างไร หลังเลือกตั้ง หากสภาพัฒน์ไม่แข็งจริง เขาไม่ฟัง  ดังนั้นต้องเร่งสร้างความเข้มแข็ง”

นายสมคิด ย้ำว่า การบ้านทั้งหมดเพื่อให้สภาพัฒน์นำประเทศให้เดินไปสู่ Create High Value เนื่องจากบางกระทรวงไม่รู้ว่าต้องทำอะไร อาทิเช่น กระทรวงอุตสาหกรรมไม่รู้ว่าจะต้องเน้นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร มากกว่าเน้นอุตสาหกรรมเหล็ก หรือเหมืองแร่เหมือนเดิม หรือ TOT, CAT ก็ไม่รู้ ยังคงภูมิใจกับการมีเสาไฟฟ้าอยู่ หรือกระทรวงศึกษาธิการ ก็ไม่รู้ว่าจะผลิตคนสาขาไหน ยังคงผลิตสาขานิเทศศาสตร์มาตกงาน เป็นต้น

ทั้งนี้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่สภาพัฒน์ต้องทำข้างต้น อาจคิดเองไม่ได้ ก็ต้องลงทุนใช้งบประมาณ เพื่อตั้งทีมทำงานขึ้นมาคิดอย่างจริงจัง อาจจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ พร้อมกับพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสภาพัฒน์เอง

“สภาพัฒน์ต้องกลับมาเป็นเหมือนเดิม เหมือนในอดีตที่คนจบเศรษฐศาสตร์มาต้องมาทำงานที่สภาพัฒน์ เพราะเท่ห์ เป็นเป็นถึงหน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่วันนี้ต้องถามใหม่ว่า คนจบเศรษฐศาสตร์มา ยังอยากทำงานที่นี่เป็นที่แรกหรือไม่ ” นายสมคิด ทิ้งท้ายให้ผู้บริหารสภาพัฒน์

8

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวภายหลังร่วมประชุมกับนายสมคิดว่า ได้ให้นโยบายในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การทำให้ประเทศไทยเดินไปสู่ยุคดิจิทัล และเป็นศูนย์กลาง CLMVT พร้อมกับปรับระบบการบริหารจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงท้องถิ่น รวมถึงเป็นตัวเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ  และเน้นย้ำให้สภาพัฒน์ชี้นำว่า  Bio Economy ควรจะโฟกัสตรงไหนในแต่ละภาคของประเทศ

ทั้งนี้กลไกที่สภาพัฒน์จะนำมาใช้ในการทำงานหลังจากนี้ ก็คือ สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา ซึ่งจะเปิดในเดือนเมษายนนี้ เพื่อมาเสริมการทำงานของเรา  พร้อมกับเป็นตัวเชื่อม เอกชน นักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆ

“นายสมคิดให้เราทำงานแนวใหม่ และแสดงบทบาทมากขึ้น ต้องชี้นำและบอกว่าสินค้าตัวไหนที่จะกระทบ และเป็นโอกาสของประเทศ จากเดิมเราบอกแค่ความเสี่ยงเท่านั้น และอันไหนดีไม่ดี ล่าช้าก็ต้องออกมาเตือนคณะรัฐมนตรี  ซึ่งการจะสร้างความเข้มแข็ง และให้คนอื่นฟังสภาพัฒน์ได้ หัวใจอยู่ที่การต้องปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆและภาคเอกชนให้มากขึ้น ”

DA190076 e1550736920472 1
ทศพร ศิริสัมพันธ์

นอกจากนี้สิ่งที่สภาพัฒน์กำลังทำแผนอยู่ ก็คือ การพัฒนาเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในส่วนภาคเหนือ จะมุ่งเน้นให้เป็นเศรษฐกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ระดับโลก (Creative Lanna Cluster ) ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ส่วน Bio Economy Cluster  อยู่ที่นครสวรรค์ ทางด้านพื้นที่เร่งรัดการพัฒนา อยู่ที่แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา และน่าน

ส่วนเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเป็น Niche Product Developing Cluster ประกอบด้วย เลย หนองบัวลำพู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ มหาสารคาม นครพนม และมุกดาหาร ส่วน  Bio Economy Cluster อยู่ทางอีสานตอนล่าง ทางด้าน New Tourism Attraction Cluster อยู่ที่นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี ศรีสะเกษ และจังหวัดริมแม่น้ำโขง  New Industry Node ด้านอุตสาหกรรมการบิน อยู่ที่นครพนม และร้อยเอ็ด ส่วนระบบราง อยู่ที่ขอนแก่น และนครราชสีมา

สำหรับเขตเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) จะทำให้เป็นประตูสู่การค้าด้านตะวันตก รวมถึงเน้นการท่องเที่ยวอันดามันอ่าวไทย และอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและแปรรูปเกษตร ซึ่งจะมีการปรับปรุงและนำเสนอรัฐบาลต่อไป เพื่อไปสู่การพัฒนานอกเหนือจาก EEC

Avatar photo