COLUMNISTS

หาเสียงอย่างนี้ … เอางบฯ มาจากไหน

Avatar photo
จิตติศักดิ์ นันทพานิช จุดตัดความคิด
2154

เลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ทุกพรรคชูนโยบาย รัฐสวัสดิการ หาเสียงเรียกคะแนน กันโดยถ้วนหน้า ประชาธิปัตย์ เปิดตัวก่อนใคร “แก้จน สร้างคน สร้างชาติ” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ประกาศแก้จนด้วยการ ต่อยอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็น 800 บาท (ปัจจุบัน 500 บาท) เพิ่มค่าแรงขึ้นต่ำ 120,000 บาทต่อปี (หรือเฉลี่ยวันละ 329 บาท) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ 1,000 บาท

52840131 10156607418706144 6655886805449048064 o
ภาพ: เฟซบุ๊ก เพจ Abhisit Vejjajiva

ส่วย “นโยบายสร้างคน” ประกาศ เด็กแรกเกิด รับทันที 5,000 บาท จากนั้นรับทุกเดือนๆละ 1,000 บาทจนอายุ 8 ขวบ รวมแล้วตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 8 ขวบ จะได้รับเงินอุดหนุนทั้งสิ้น 100,000 บาท นอกจากนี้ยังมี เรียนฟรีถึงปวส. แจกคูปองเพิ่มทักษะ 3,500 บาทต่อคนต่อปี เป็นต้น

ส่วน พรรคพลังประชารัฐ อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค ภูมิใจในเสนอ “มารดาประชารัฐ” บลัฟประชาธิปัตย์ โดย เริ่มให้ตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ รับไปเลย 3,000 บาทต่อเดือนนาน 9 เดือน ช่วยค่าทำคลอด 10,000 บาท คลอดแล้ว รับอีก 2,000 บาท ต่อเดือนกระทั่งอายุ 6 ขวบ รวมตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงอายุ 6 ขวบ “บุตร-ธิดาประชารัฐ”จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐไปรวม 181,000 บาทต่อหนึ่งคน

พรรคอนาคตใหม่ ของ อาเสี่ย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศนโยบายรัฐสวัสดิการ เช่นกัน สาระไม่ได้ต่างจากพรรคใหญ่ เช่น มีเงินเดือนสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตร ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ขวบ เดือนละ 1,200 บาท มีค่าครองชีพให้เยาวชนอายุ 12-18 ปี เพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุเป็น 1,800 บาท เป็นต้น เช่นเดียวกับพรรคเพื่อชาติ เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 2,000 บาท ถ้าเศรษฐกิจจะปรับเพิ่มเป็น 3,000 – 4,000 บาท เป็นต้น

อุตตม สาวนายน72627
พลังประชารัฐ

มองตัวเลขจากการหาเสียงในส่วนของเด็ก พลังประชารัฐ ล้ำหน้าพรรคอื่นอยู่มาก จนเป็นที่กล่าวถึง วันก่อนก่อนสื่อบางสำนักรายงาน อ้างคำพูด คุณหมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล จะนะจังหวัดสงขลา ออกมาตั้งข้อสังเกตงบประมาณที่จะให้” บุตร ธิดา ประชารัฐ” ไว้น่าสนใจ

คุณหมอ อ้างถึงสถิติเด็กเกิดใหม่ ของ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 702,775 คน หากคูณกับตัวเลขเงินอุดหนุนตามนโยบาย มารดาประชารัฐ ของ พลังประชารัฐแล้ว ตัวเลขงบประมาณที่ต้องใช้ต่อปีและผูกพันด้วยเท่ากับ 127,000 ล้านบาทต่อปีโดยประมาณ คำนวณผลสุดท้ายออกมาให้เห็นแล้ว คุณหมอสรุปสั้นๆว่า นโยบายแบบนี้ ไม่น่าเรียกว่า รัฐสวัสดิการ แต่ เป็นการ ผลาญภาษีรัฐ

เรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้กับนโยบาย รัฐสวัสดิการ หรือ ประชานิยม มีการกล่าวถึงเยอะ เพราะตามหลัก เมื่อรัฐเพิ่มสวัสดิการการจัดเก็บภาษีต้องเพิ่มขึ้นให้สมดุลกันระหว่างจ่ายกับรับ แต่ที่ผ่านมา การเมืองไทยไม่ว่ายุคไหน เลี่ยงการขึ้นภาษีทั้งสิ้น รวมทั้งรัฐบาล คสช.ที่อ้างเสมอๆว่าไม่ต้องการความนิยม

อภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ พูดกลมๆ เรื่องที่มารายได้ว่า “ รัฐสวัสดิการต้องมีที่มาของเงินไม่ทำบ้านเมืองต้องล้มละลาย “ แต่ไม่มีรายละเอียดว่า จะหางบประมาณเพิ่มเติมมากจากไหน ส่วนหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เสี่ยธนาธร บอกง่ายมากแค่ ลดงบกองทัพที่เอาไปซื้ออาวุธก็จบ แนวคิดของเสี่ย ธนาธร เหมือนกับ พล.อ.ยงยุทธ เทพจำนงค์ หัวหน้าพรรคประชานิยมที่เสนอให้หยุดซื้ออาวุธ 10 ปี

ในนามของ ประชาธิปไตย พรรค หรือ ใคร จะเสนอนโยบายอย่างไรก็ได้ในช่วงเทศกาลหาเสียง แต่ก็ควรยืนบนหลักความจริงเป็นสำคัญ มากกว่าเรียกร้องความสนจนลืมความรับผิดชอบ จริงอยู่ ประชาชนเจ้าของสิทธิอยากได้นโยบายที่รัฐดูแลกันไปตลอดชีวิต แต่คนที่เสียภาษี ก็อยากเห็นการใช้ภาษีอย่างคุ้มค่า และอยากรู้ว่า จะไปหางบประมาณเพิ่มเติมมาจากไหนเพื่อไม่ให้กระทนแผนรายจ่ายของงานส่วนอื่น

11 ชมพู่ธนาธร 1
อนาคตใหม่

คำถาม :  หนึ่ง เสี่ยธนาธร ที่ดูอะไรๆในประเทศไทยขวางหูขวางตาไปหมดถึงกับประกาศว่าต้องแก้ไขประเทศไทย จะผลักดัน ภาษีมรดก ที่รัฐบาล คสช.ไม่กล้าผลักดัน หรือไม่

สอง หัวหน้าพรรคทุกท่าน มีความคิดจะ ทบทวน พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ ภาษีที่ดิน ที่จะเริ่มบังคับใช้ต้นปี 2563 ช้ากว่ากำหนดไป 2 ปี หลัง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวน อัตราจัดเก็บ และเลื่อนเวลาประกาศบังคับใช้ออกไป โดยอ้างความไม่พร้อม

ซึ่งภายหลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ( สนช.) ทบทวนด้วยการลดอัตราจัดเก็บหลายรายการ รายที่ได้รัฐคาดว่าจะได้รับ 70,000 ล้านบาทต่อปี เหลือ 50,000 ล้านบาท ต่อปี กลุ่มที่ได้ประโยชน์หลักๆ คือ คนที่ถือครองที่ดินมากกว่า 1,000 ไร่ที่ทั้งประเทศมีไม่ถึง 1,000 ราย

ข้อสาม สุดท้าย … มีพรรคไหนจะผลักดันให้เก็บภาษีจากการเล่นหุ้น ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ในการนำรายได้มาดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการโดยไม่ต้องเบียดดังแผนการใช้จ่ายส่วนอื่นมากเกินไป หรือไม่