The Bangkok Insight

หนุนอาเซียนใช้การเงิน ‘สีฟ้า-สีเขียว’ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสองแสนล้านดอลล์

การประชุมเชิงปฏิบัติการของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ระบุว่า อาเซียนจำเป็นต้องส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงิน ‘สีเขียว’ (green finance) และ‘สีฟ้า’ (blue finance) เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างทางการเงินที่เพิ่มขึ้น สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในภูมิภาค

000 Hkg3973247

ข้อมูลจากเอดีบี ระบุว่า สมาชิกอาเซียนต้องการเงิน 2.10 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ถ้าพิจารณาถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและต้นทุนการปรับตัวเข้าด้วยกัน  จะทำให้งบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ดังนั้น อาเซียนมีความจำเป็นเร่งด่วนในการกระตุ้นให้เกิดการระดมทุนจากภาคเอกชนด้วย

โดยการใช้การคลังของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อระดมทุนจากตลาดทุนและนักลงทุนกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลกและในภูมิภาคอาเซียน เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย  (Thailand Future Fund) ช่องทางรวมเพื่อสร้างเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia’s Sustainable Development Goals One platform) และ กองทุนสีเขียวภายใต้กองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาเซียน (ASEAN Catalytic Green Finance Facility of the ASEAN Infrastructure Fund)

การประชุมเชิงปฏิบัติครั้งนี้ยังได้ทบทวนความพยายามและเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแก้ไขกฎระเบียบที่เอื้อให้สภาพแวดล้อมของภูมิภาคอาเซียนมีเสถียรภาพและคาดการณ์ได้ โดยการเงิน ‘สีเขียว’ ได้ถูกนำเสนอว่าเป็นนวัตกรรมทางการเงิน ซึ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ลดผลกระทบและช่วยในการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทำให้การอนุรักษ์ธรรมชาติและการหมุนเวียนทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนั้น การเงิน ‘สีฟ้า’ ถูกกล่าวถึงว่าเป็นรูปแบบการระดมเงินทุนแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับมลพิษที่เพิ่มขึ้นจากพลาสติกและวัสดุอื่นๆ ในแม่น้ำและมหาสมุทรในภูมิภาค

33036 33011 asean workshop final2

“อาเซียนต้องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างมาก” นายราเมศ สุบรามาเนียม ผู้อำนวยการสำนักเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเอดีบีกล่าว “เราต้องการแนวทางในการจัดหานวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยลดความเสี่ยงในโครงการ และ เชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยแก้ปัญหาความท้าทายด้านพัฒนาต่างๆ ที่สำคัญ”

น.ส.เกตสุดา สุประดิษฐ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลไทย ในฐานะประธานอาเซียน ในปีพ.ศ. 2562 ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงของอาเซียนภายใต้การติดตามด้านการเงินและการคลัง นอกจากนี้ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการจะถูกรายงานไปยังการประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านการเงินการคลังและคณะทำงานจากธนาคารกลาง รวมทั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนและหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน

 

Avatar photo