Business

กสทช.-อย. สั่ง‘ทีวี’ระงับโฆษณา 6 สินค้าเสริมอาหาร

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ไม่ผ่าน อย. และไม่ได้รับอนุญาตโฆษณา ที่เข้าข่ายโฆษณาผิดกฎหมาย โดยมีเจ้าหน้าที่จาก อย. มาประจำการที่ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ (โซเชียล มีเดีย) ของสำนักงาน กสทช.เพื่อความรวดเร็วในการสั่งระงับโฆษณาที่ผิดกฎหมาย อย. โดยทำงานร่วมกันตั้งแต่วันศุกร์ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา

กสทช. อย.

 สั่งระงับโฆษณา 6 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าจากการทำงานร่วมกันตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและยา ที่โฆษณาทางสถานีทีวี ของเจ้าหน้าที่ กสทช.และ อย. ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามี 6 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฆษณาผิดกฎหมาย อย. ในลักษณะโฆษณาเกินจริง และเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ผ่านช่องทีวีดิจิทัลและทีวีดาวเทียม

ประกอบด้วย ช่องทีวีดิจิทัล  1 .ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  โกตุ โกล่า คริสตัล เฮิร์บ (Crytal Herbs) ช่อง สปริงนิวส์   2.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่า สกัดผสมเห็ดหลินจือสกัด พลัส  ตรา “ซีเนเจอร์”  ช่อง 8  และ 3 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอส.โอ.เอ็ม. ซีแมคซ์  (ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปชนิดผง) ช่อง 8

ส่วนช่องทีวีดาวเทียม คือ 4. ผลิตภัณฑ์ แม็กซ์  ช่อง“แอดทีวี” 5. ไบโอวัน  ช่องแอดทีวี และ 6 ดับเบิ้ล แม็กซ์  ช่องมิกซ์ เมเจอร์ แชนแนล

โดย อย. ระบุว่าความผิดทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า เป็นการโฆษณา ซึ่งทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นอาหารตามความใน พ.ร.บ.อาหาร  พ.ศ. 2522 ซึ่งมีการให้นิยามไว้ว่าเป็นของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต  อันไม่มีผลในการบำบัด บรรเทารักษาโรค หรือ อาการของโรค  โดยเป็นการโฆษณาซึ่งทำให้ เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้รับอนุญาต เป็นอาหาร ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522

กสทช.ส่งหนังสือแจ้งห้ามโฆษณา

หลังจาก อย. ยื่นรายชื่อผลิตภัณฑ์โฆษณาผิดกฎหมาย ที่โฆษณาผ่านทีวี มาให้  กสทช.แล้ว สำนักงาน กสทช. จะออกคำสั่งทางปกครองทันที เพื่อส่งไปให้สถานีทีวีที่โฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ให้ระงับโฆษณาผิดกฎหมาย อย.

ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่าง กสทช.และ อย. ในการมอนิเตอร์โฆษณาผิดกฎหมาย อย. เมื่อตรวจพบ และนำไปสู่การส่งหนังสือแจ้งระงับโฆษณาดำเนินการได้อย่างรวดเร็วภายใน 1

ปัจจุบันโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารโอ้อวดและเกินจริงพบจำนวนมากทางสื่อออนไลน์ ซึ่งจะหารือกับ อย.เพื่อออกหนังสืออเชิญ ISP มาหารือเพื่อปิดกั้นโฆษณาดังกล่าว หลัง อย.ตรวจพบว่าเป็นโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมาย  ซึ่ง กสทช. ดูแลทั้งหมด ทั้ง ทีวี วิทยุ ออนไลน์

กสทช. อย. โฆษณาเกินจริง

พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการ กสทช. กล่าวว่าต่อไปนี้การทำงานของ  กสทช. จะเร็วมากขึ้น  หลังจาก อย. ยื่นรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายโฆษณาผิดกฎหมาย  กสทช. จะพิจารณาและส่งให้ สำนักงาน กสทช. ออกคำสั่งไปยังสถานีทีวี ช่องต่างๆ ให้ระงับการโฆษณาทันที

ลักษณะที่เข้าข่ายความผิดของ 6 ผลิตภัณฑ์ คือ มีลักษณะที่จดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร  แต่เนื้อหาโฆษณาเข้าข่ายช่วยรักษาโรคได้ด้วยวิธีการต่างๆ  ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย อย.

เดิมขั้นตอนก่อนระงับโฆษณาผิดกฎหมาย อย. ต้องใช้เวลา  45 วันในการพิจารณาก่อนออกคำสั่งให้ระงับโฆษณา  แต่หลังจากมีเจ้าหน้าที่ อย.และ กสทช. ทำงานร่วมกัน ซึ่งเริ่มนโยบายนี้มาตั้งแต่วันพฤหัสบดี 3 พฤษภาคม 2561  ได้ออกคำสั่งระงับโฆษณาได้ทันที ในวันนี้ (7 พฤษภาคม)  จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ 4 ช่อง  ซึ่งขั้นตอนการทำงานหลังจากนี้  จะทำได้ภายใน 1 วัน  เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

กสทช. อย.

อย.เร่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร‘ดารา’

นายสมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.) กล่าวว่าการตรวจพบ 6 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาผิดกฎหมาย มาจากการจัดรายการ นำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณ

สำหรับผู้ดำเนินรายการ พิธีกร เจ้าของผลิตภัณฑ์  ที่เข้าข่ายโฆษณาผิดกฎหมาย อย.จะเป็นผู้ดำเนินคดีทางกฎหมายเองต่อไป ซึ่งมีเวลาของอายุความ  ที่จะส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อ  สิ่งที่ทำงานร่วมกับ อย. คือการระงับข้อความโฆษณาที่ไม่ถูกต้องให้เร็วที่สุด

“อย.จะดำเนินการตรวจสอบเนื้อโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคหลงผิดเรื่องโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่โอ้อวดเกินจริง”

ทั้งนี้ กรณีมีผู้แจ้งตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของ ดารา นักแสดงต่างๆ เข้ามานั้น ตามขั้นตอนจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ และโฆษณาว่าผิดกฎหมาย อย. หรือไม่  หากไม่ขออนุญาตโฆษณา อย. จะผิดตามมาตร 41 ที่จะมีโทษปรับ หลังจากนั้นพิจารณาต่อว่าเป็นโฆษณาที่เป็นเท็จหรือไม่ โอ้อวด และทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญหรือไม่  ถ้าเข้าข่ายจะมีการพิจารณาโทษตามมาตรา 40 มีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท

กสทช. อย. โฆษณาเกินจริง

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ที่ปรึกษา อย. กล่าวว่าสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร ก่อนโฆษณา ต้องขออนุญาตโฆษณากับ อย. ก่อน   โดย “อาหาร” ไม่สามารถโฆษณาว่าจะบำบัด บรรเทา รักษาหรือ ป้องกันโรค ได้   โดยปกติ อย. จะตรวจสอบการโฆษณาจากฐานข้อมูล  โดยต่อไปนี้จะมีหน้าเจ้าหน้าที่ของ อย. มาทำงานร่วมกับเจ้าที่ กสทช. เมื่อพบว่ามีการโฆษณาจะสืบค้นข้อมูลการโฆษณาในฐานข้อมูล อย.ว่า การโฆษณาดังกล่าว ได้รับอนุญาตโฆษณาหรือไม่

หากพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่ขออนุญาตโฆษณา ถือว่า “ผิดกฎหมาย”  ข้อหาที่ 1. คือ โฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต  และ 2. หากโฆษณาโอ้อวดเกินจริง เช่น  ผลิตภัณฑ์อาหาร  แต่โฆษณาว่าสามารถบำบัด บรรเทา หรือ ป้องกันโรคได้  ถือเป็นการโฆษณาโอ้อวดเกินความจริง  หรือโฆษณาเป็นเท็จ ซึ่งจะเข้าข่ายความผิดเพิ่มอีกมาตรา ดังนั้นเมื่อตรวจพบเจ้าหน้าที่จะลงลายมือชื่อกำกับเพื่อส่งข้อมูลให้กับ กสทช. ซึ่ง กสทช. จะใช้คำสั่งระงับการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ทันที

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight