Economics

‘บีกริม’วอนทีโออาร์ ‘ไอพีพี’ ต้องโปร่งใสเปิดกว้าง

หลังจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) 2018 ได้ผ่านการพิจาณาเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เป็นที่เรียบร้อย ตอนนี้หลายบริษัทวงการไฟฟ้าตื่นตัว ที่จะนำแผนนี้มาใช้ในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ

นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริ

บริษัท บีกริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเจ้าใหญ่อีกราย ที่อยู่ในวงการนี้มานานเกือบกว่า 26 ปีก็ตามติดเช่นกัน นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีกริม บอกว่าแผนพีดีพีฉบับใหม่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางพลังงาน โดยเพิ่มความสมดุลของระบบไฟฟ้าตามรายภูมิภาค มีการรวมกำลังการผลิตจากผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือ  IPS (Independent Power Supply) เข้าระบบกับ 3 การไฟฟ้า รวมถึงเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมาที่ 53% ณ ปี 2580 จากเดิมพีดีพี 2015 กำหนดสัดส่วนที่ 37% ณ ปี 2579

ขณะเดียวกันก็มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้เป็นไปตามกรอบการประชุมประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ  COP21 (Conference of Parties ) โดยมีสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน รวมพลังน้ำ 20% ณ ปี 2580 ทยอยปรับเพิ่มขึ้นจาก 11% ในปี 2561 และเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าผ่านโครงการโซล่าร์ภาคประชาชน

ในด้านเศรษฐกิจแผนนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคจากการกระจายตัวโรงไฟฟ้าตามภูมิภาคต่างๆ ที่เรียกว่า Distributed Generation เป็นการเน้นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กลง แต่ไปตั้งตรงศูนย์กลางการใช้งาน เพื่อลดการสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้า และส่งเสริมผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรม

IMG 9278

แผนพีดีพีฉบับนี้ จึงเป็นโอกาสของบริษัท เพราะเราเป็นผู้นำในธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (เอสพีพี)อยู่แล้ว และมีโรงไฟฟ้ากระจายอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศ

ขณะเดียวกันบริษัทก็อยู่ระหว่างการขยายโซล่าร์รูฟท๊อป ซึ่งปัจจุบันมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) แล้ว 70 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างเจรจาอีกหลายโครงการ

และนอกจากการขยายการลงทุนตามแผนพีดีพีในประเทศแล้ว นางปรียนาถ เล่าว่า ในต่างประเทศเราก็จะรุกไม่หยุดเช่นกัน โดยมีทั้งโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว และอยู่ระหว่างพัฒนาแล้วจนถึงปี 2565 เป็นโครงการที่เวียดนาม 690 เมกะวัตต์  และที่สปป.ลาว 132.6 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้กับเป้าหมายการลงทุนในต่างประเทศที่วางไว้ว่าภายในปี 2565 จะมีสัดส่วน 30% ของกำลังการผลิตทั้งหมด

นอกจากโซล่าร์แล้ว บริษัทก็ยังมองหาโอกาสในการลงทุนพลังงานทดแทนในประเทศต่างๆในแถบอาเซียน และใกล้เคียง ซึ่งมีรัฐบาลหลายประเทศสนับสนุนพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง โดยมีโครงการที่กำลังศึกษาอยู่หลายโครงการ และมีการติดต่อเข้ามาจากผู้พัฒนาโครงการในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง  “ทำให้เราต้องทบทวนความเหมาะสมอีกครั้งในอนาคต” เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการเติบโตของบริษัทในระยะยาว

ขยายการลงทุนกัมพูชา

สำหรับแผนการลงทุนภาพรวมในระยะสั้น นางปรียนาถ ย้ำว่าจะเน้นการลงทุนในพลังงานทดแทนในประเทศแถบอาเซียน และใกล้เคียงเป็นหลัก  ส่วนระยะกลาง จะนำแนวทางการลงทุนเอสพีพีในไทยไปร่วมพัฒนาในประเทศต่างๆที่สนใจดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ อาทิ กัมพูชา ซึ่งบีกริมได้ลงทุนสายส่งในนิคมอุตสาหกรรมไประดับหนึ่งแล้ว ซึ่งที่นั้นผลิตไฟฟ้า 14 เมกะวัตต์ ที่นิคม Poi Pet เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 25 เมกะวัตต์ที่นิคม Phnom Penh เริ่มผลิตในปลายปีนี้ และอยู่ระหว่างการเจรจาก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอสพีพีในนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย

ส่วนในระยะยาวจะเน้นความมั่นคงตอบโจทย์นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในประเทศนั้นๆ โดยหลักการลงทุนในต่างประเทศที่สำคัญ คือ การมี “พันธมิตรท้องถิ่นที่ดี” ซึ่งต่องเป็นนักธุรกิจที่เข้าใจวิธีดำเนินธุรกิจและการดูแลชุมชน เช่น ที่สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

สำหรับที่เวีดยนาม มีความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการ ขนาดกำลังผลิต 420 เมกะวัตต์ และ 257 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่า 50% ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ตามกำหนดภายในเดือนมิถุนายน 2562 แน่นอน

อนาคตต้องโซล่าร์+battery storage

ส่วนการลงทุนโซล่าร์เซลล์ในอนาคตนั้น นางปรียนาถ บอกว่า จะเป็นรูปแบบ “โซล่าร์บวกระบบกักเก็บพลังงาน (battery storage ) “ เพื่อกักเก็บพลังงาน ช่วยให้ระบบไฟฟ้าในทุกภาคส่วนมีเสถียรภาพ โดยจะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกิน ในกรณีที่มีการผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการ

และในทางตรงกันข้ามเมื่อมีความต้องการไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าในขณะนั้น ระบบกักเก็บพลังงานจะจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบ ซึ่งจะเป็นการรักษาคุณภาพไฟฟ้า และรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังมีระบบสายส่งอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท กริด ( Smart Grid ) ทยอยเข้ามา ซึ่งมีการบริหารจัดการและควบคุมให้การผลิต และการใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากทั้งโรงไฟฟ้าเอสพีพี โซล่าร์รูฟท็อป และระบบกักเก็บพพลังงาน ภายในไมโครกริด ให้เป็นไปอย่างสมดุลตลอดเวลา

มาถึงตรงนี้ นางปรียนาถ บอกว่า “ไมโคร กริด” (Micro Grid)  เป็นทิศทางที่ต้องไป ซึ่งกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างศึกษาแนวทาง เพราะเป็นระบบที่ยึดหยุ่น และมีสเถียรภาพ และบริหารจัดการง่าย เป็นอีกระบบใหม่ที่รัฐต้องส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ที่ผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ใช้ซื้อขายไฟฟ้ากันเองได้อย่างเสรี ขณะเดียวกันไฟฟ้าก็มีเสถียรภาพ และแน่นอน ว่า ระบบจะเล็กหรือใหญ่ก็เรียก ไมโคร กริดได้ทั้งนั้น สำคัญอยู่ที่เป็นการซื้อขายไฟฟ้ากันเองในพื้นที่เฉพาะ  ซึ่งเรากำลังนำร่องทำกับบริษัทอมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำร่องสมาร์ท ซิตี้ ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

อย่างไรก็ตามการจะเป็นสมาร์ทได้ จะต้องมีระบบการพยากรณ์ไฟฟ้า ที่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าว่าโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจะมีการผลิตไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งการพยากรณ์ดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากหลายส่วน ทั้งข้อมูลด้านการ พยากรณ์สถาพอากาศในอนาคต ข้อมูลสถานการณ์ปฏิบัติงานของโรงไฟฟ้าต่างๆ และข้อมูลสถิติในอดีตมาใช้ประมวลผล ซึ่งระบบสมาร์ท กริดจะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

จาก Firm ต้องเป็น power pool

นอกจากนี้อีกระบบที่กำลังมาแรง และจะทำให้โฉมหน้าระบบไฟฟ้าของไทยเปลี่ยนไป ซึ่งบีกริมก็ตามติดเช่นกัน ก็คือ การที่ผู้ใช้ไฟฟ้าปรับตัวเป็น Prosumer มากขึ้น หรือผู้ใช้อาจกลายเป็นผู้ขายไฟฟ้าได้ สำหรับช่วงเวลาที่ตนเองไม่มีการใช้ไฟฟ้า

จุดนี้จะทำให้การรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน อาจเปลี่ยนรูปแบบอื่นจากการรับซื้อแบบมีสัญญาแน่นอน ( Firm contract ) ไปสู่การซื้อไฟฟ้าแบบ power pool ซึ่งผู้ที่จะได้เปรียบ ก็คือเจ้าของสายส่งและจำหน่าย และการมีลูกค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ

ส่วนเทรนด์ในอนาคตก็จะเป็น Distributed Generation มากขึ้น หมายถึงโรงไฟฟ้าขนาดเล็กลง แต่ไปตั้งซศูนย์กลางการใช้งานเพื่อลดการสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้า โดยเฉพาะเพื่อส่งเสริมผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรม  ทิศทางเหล่านี้ล้วนแต่เป็นจุดแข็งของบริษัทที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆให้เราในอนาคต

อย่างไรก็ตามไม่ว่าบีกริมจะลงทุนโครงการใดก็ตาม นางปรียนาถ ย้ำว่า ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมต่อประชาคมโลก ที่จะส่งเสริมสภาพภูมิอากาศที่ดี โดยล่าสุดบริษัทได้ออก กรีน บอนด์ จำนวน 5,000 ล้านบาทเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อรีไฟแนนซ์ เงินกู้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอิทตย์ที่เปิดดำเนินการแล้ว 9 แห่ง กำลังการผลิต 67.7 เมกะวัตต์ และใช้เป็นเงินลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 7 แห่ง ที่เพิ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในช่วงปลายเดือนธันวาคม จำนวน 30.8 เมกะวัตต์ โดยการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของหุ้นกู้ กรีน บอนด์ ที่ไดรับการรับรองโดย Climate Bonds Initiative

รวมถึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยง หลังจากเกิดภัยพิบัติทั่วโลก โดยแต่ละโครงการจะศึกษาความเป็นไปได้อย่างละเอียดรอบคอบ โดยเฉพาะในเรื่องตำแหน่งที่ตั้ง จะต้องปลอดภัยสูง สำหรับโครงการที่ลงทุนในต่างประเทศ จะต้องมีพันธมิตรท้องถิ่นที่ดี ซึ่งจะรู้ภูมิประเทศ และตำแหน่งที่ตั้งของโรงไฟฟ้นั้นๆเป็นอย่างเดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภัยพิบะติต่างๆ นอกจากนี้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะต้องได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลด้วย

และ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น บริษัทก็มีการทำประกันภัยไว้ในโครงการต่างๆ ครอบคลุมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นไม่วาจะเป็นประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สิน หรือทางธุรกิจ และการประกันภัยต่อบุคคลที่สาม และยังมีการวางแผนป้องกันภัยต่างๆ และแผนฉุกเฉินรองรับด้วย

วอนทีโออาร์ไอพีพีโปร่งใสเปิดกว้าง

แม้ว่าแผนพีดีพี 2018 ดูจะเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสพีพีอย่างบีกริม แต่นางปรียนาถ ก็ยังคงหวั่นใจว่า เอาเข้าจริงแล้ว รัฐจะให้ความสำคัญกับโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพี ที่จะมีการเปิดประมูลรับซื้อในหลายๆพื้่นที่  โดย นางปรียนาถ ฝากไปถึงหน่วยงานที่จะต้องออกกฎระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าไอพีพี อย่างคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่าขอให้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากไอพีพี (ทีโออาร์) ที่จะออกมาต้องโปรงใส และเปิดกว้าง ให้โอกาสให้ผู้ประกอบการทุกคน ไม่เอื้อให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

“ทีโออาร์โรงไฟฟ้าไอพีพี มักจะออกมาทำนองว่า ผู้ที่จะมีสิทธิประมูลได้ ต้องมีประสบการณ์ ซึ่งต้องไม่ได้หมายถึงมีประสบการณ์เป็นไอพีพีเท่านั้น ไม่เช่นนั้นก็จะกระจุกอยู่กับผู้ประกอบการไม่กี่ราย และขอย้ำว้่า เอสพีพีเป็นระบบการผลิตไฟฟ้าที่ดีที่สุด สอดคล้องกับแผนการกระจายความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสูู่ภูมิภาค มีความยึดหยุ่น และมีเสถียรภาพ ผลิตและใช้เองภายในนิคมอุตสาหกรรม ไม่ต้องสูญเสียพลังงานระหว่างทาง สามารถตอบสนองต่อนักลงทุนที่มาลงทุนในบ้านเราได้อย่างดี ”  

 

 

 

Avatar photo